FEATURESMovie Features

มาพบกับตอนจบของ จากหนังแย่ ถึงหนังเยี่ยมของ เดวิด ฟินเชอร์

เดวิด ฟินเชอร์ เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ทำงานได้อย่างคงเส้นคงวามาตลอด นับตั้งแต่โดดมากำกับหนังเรื่องแรก Alien 3 เมื่อปี 1992 โดยมี Gone Girl เป็นผลงานชิ้นล่าสุด เขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับมิวสิค วิดีโอฝีมือดี ที่เมื่อมาจับงานหนังจอใหญ่ก็ได้รับการยกย่องไม่ต่างกัน และแม็กซ์ โอคอนเนลล์ จากเว็บ Indiewire ได้ทำการจัดอันดับผลงานของฟินเชอร์ จากที่แย่ที่สุดไปถึงที่เยี่ยมที่สุดเอาไว้ ที่น่าดีใจก็คือ ผลงานของเขาไม่ใช่งานหาชมยาก หากเป็นสามารถหาชมได้ในรูปแบบดีวีดี และบลู-เรย์ เพื่อให้คอหนังทั้งหลายได้ไปลองหาชมกัน และตัดสินด้วยตัวเอง (อ่านตอนแรกได้ที่ http://bit.ly/11Jc5zg)

Fight Club (1999): การเสียดสีโลกบริโภคนิยม, การก่อการร้าย และความภูมิใจในความเป็นชายแบบสุดโต่ง ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นผ่านการเดินทางที่แปลกประหลาดในระยะเวลา 15 ปีครั้งนี้ จากหนังทุนสูง กลายเป็นหนังที่ถูกนักวิจารณ์ถล่มยับ และกลายเป็นหนังคัลท์ คลาสสิค ที่เป็นแถลงการณ์แห่งยุคสมัย ไปจนถึงเป็นงานที่ได้รับการต้อนรับจากเหล่าเพศชาย เพศที่ถูกหนังวิพากษ์วิจารณ์ ช่วงสุดท้ายของหนังนั้น ไม่ได้น่าประหลาดใจมากมาย แต่ในช่วงเวลาราวๆ 90 นาที ฟินเชอร์เอา การโดดเดี่ยวตัวเอง, การก่อร้ายในวัยเยาว์ และการขับอะไรแย่ๆ ออกจากผู้คน มาทำให้ดูเหมือนเป็นการปลดปล่อยสิ่งต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณถูกนำทางโดย ตัวละคนที่ไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะมีอยู่จริง อย่างแบรด พิทท์ และเอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน ในวันที่เขาพีคที่สุด หนังยังเฉียบแหลมโคตรๆ กับการแสดงให้เห็นความน่าหลงใหลของระบบฟาสซิสท์ ที่มาในรูปแบบของอนาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตาม นี่คืองานที่มองโลกในแง่ดีที่สุดของฟินเชอร์ เมื่อตัวละครของนอร์ตันสามารถหลุดจากโลกทัศน์ที่เลวร้ายของตัวเองได้ Fight Club ยังเป็นงานที่ได้รับคำชื่นชมอย่างมากในความชาญฉลาด (ซึ่งต้นเรื่องเป็นนิยายของชัค พาลาห์เนียค) และฟินเชอร์ก็ใช้เทคนิคเล่าเรื่องได้อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้การตัดต่อมามองเข้าไปในหัวของคนเล่าเรื่อง ก็ทำให้สมควรกับการต้อนรับเป็นอย่างดี

The Game (1997): ยังคงเป็นงานที่ไม่น่าอภิรมย์ภายในเครดิตทั้งหมดของฟินเชอร์ แถมเจ้าตัวเองก็รู้สึกเช่นเดียวกัน แว่บแรก มันดูเป็นบททดสอบที่น่าสนุก เกี่ยวกับอาการจิตเภท ฟินเชอร์กับผู้กำกับภาพ แฮร์ริส ซาวิเดส ทำให้ถนนทุกสายในซาน ฟรานซิสโกดูเต็มไปด้วยอันตราย ทุกๆ ที่มีสิทธิ์ถูกคุกคาม และในระดับหนึ่งหนังก็มีค่าพอเทียบกับงานคลาสสิคอย่าง The Parallax View ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นอิทธิพลหลักของหนังเรื่องนี้ แต่เมื่อถึงการเปิดเผยครั้งใหญ่ในตอนท้าย หนังก็เสียความเยี่ยมยอดบางส่วนของตัวเองไป หลายๆ คนมองว่า การทรยศที่เกิดขึ้นนั้น น่าจะดูเป็นธรรมชาติ และป็นบทสรุปที่ขมขื่นแดกดันกว่าที่เห็น แต่ฟินเชอร์กับดารานำ – ไมเคิล ดักลาส ในบทที่เจ๋งที่สุดบทหนึ่งในชีวิต และถูกมองข้ามมากที่สุดเช่นกัน พยายามสร้างทุกอย่างเพื่อการเปิดเผยนั้น ไม่ว่าจะค่อยๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความทุกข์ทนจากอดีต ที่ทำให้ตัวละครของดักลาสปิดกั้นตัวเองจากคนที่รักเขา นี่คือตัวละครที่เปลี่ยวเหงาอีกคนของฟินเชอร์ และก็ต้องการระเบิดอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมีการวางแผนอย่างแยบยล เพื่อที่จะพังทะลายโลกทัศน์อันคับแคบ, วิสัยทัศน์ที่ดูแคลนเกลียดชังผู้อื่น ให้พังลงไป นี่ไม่ใช่แค่ A Christmas Carol หรือ It’s a Wonderful Life ของฟินเชอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นหนังเปิดให้เห็นความสนใจ และความกลัวของเขามากที่สุดเรื่องหนึ่ง

The Social Network (2010): ตอนที่ข่าวรั่วออกมาว่าฟินเชอร์ จะกำกับหนังเกี่ยวกับเฟซบุ๊ค รายงานทุกอย่างที่ออกมาล้วนแต่เป็นของปลอม และเมื่อออกฉายมันก็เป็นมากกว่าหนังที่ได้รับการชื่นชมมากที่สุดของปี และไม่ต่างไปจาก Fight Club ที่ออกฉายก่อนหน้า นี่เป็นหนึ่งในหนังที่หน้าตาน่าเย้ายวนที่สุดเรื่องหนึ่งของฟินเชอร์ โดยเฉพาะฉากยาวๆ ที่เต็มไปด้วยการตัดต่อ ในตอนที่มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก พยายามแฮ็คเข้าระบบของฮาร์วาร์ด เพื่อล้างแค้น และเล่นสนุกกับหญิงสาวคนหนึ่งด้วยอารมณ์โกรธ และเหมือนกับ Fight Club ที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของฮีโรในเรื่องที่มีความมุ่งร้ายขนาดไหน ผู้กำกับยังค้นพบกุญแจสำคัญในการทำหนังจากบทของแอรอน ซอร์กิน ที่ใช้บทสนทนาแบบตามใจตัวเองบ่อยๆ แล้วก็เร่งความเร็วไปจนรู้สึกเป็นการจู่โจม จากนั้นก็เอาไปใส่ปากนักแสดง ที่ไม่ต้องมาห่วงเรื่องที่ต้องแสดงให้คล้ายคลึงกับตัวคนที่มีอยู่จริงๆ The Social Network เป็นหนึ่งในหนังของฟินเชอร์ที่นำเสนอแรงขับจากความลุ่มหลง ได้อย่างชัดเจน และชาญฉลาดที่สุด หนึ่งภาพที่เห็น ถูกทำให้รู้สึกถึง 2 อย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งคือด้านที่รุ่งเรืองเติบโต อีกหนึ่งคือด้านที่พังทลาย, มีด้านที่เป็นกลุ่มก้อนก็มีด้านที่โดดเดี่ยว

Seven (1995): หนังที่เปลี่ยนฟินเชอร์จากคนทำมิวสิค วิดีโอเปี่ยมพรสวรรค์ เป็นหนึ่งในคนทำหนังกระแสหลักของยุคสมัย ที่ยังคงเฟี้ยว, มีพลัง และทำงานด้วยความกล้าหาญอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ หนังมีลูกฮุคเป็นฆาตรกรฆ่าต่อเนื่อง ที่สังหารเหยื่อตามบทบัญญัติของบาป 7 ประการ ซึ่งเหมาะมากกับการเป็นนิยายระทึกขวัญอ่านฆ่าเวลาตามสนามบิน แต่ฟินเชอร์ทำให้กลายเป็นงานระทึกขวัญเกี่ยวกับการหมกมุ่นอยู่กับการค้นหา และภาพของการคอรัปชันทางศีลธรรมในเมืองที่ก้าวใหญ่ โดยมีตัวละครให้ศึกษาเป็นผู้ชายสามคน คนแรกคือคนเหงาที่มีแบบแผน (มอร์แกน ฟรีแมน ในบทที่เต็มที่ ที่สุดบทหนึ่งในชีวิต) ใช้การเฉื่อยแฉะของชีวิตเป็นโล่กำบังความน่าพรั่นพรึงของโลก และความเลื่อนเปื่อนของตัวเอง คนที่สอง เป็นนักฆ่าที่มีแบบแผนพอๆ กัน (เควิน สเปชีย์ เล่น) มีความระแวดระวังไม่ต่างกัน แต่ห่างไกลมากๆ ในเรื่องความน่าหวาดกลัว เขาเปลี่ยนความไม่ใส่ใจที่มีต่อตัวเอง ให้กลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความน่าหวาดกลัว และคนที่สาม ตำรวจที่ดูมีความหวังมากกว่าใคร (แบรด พิทท์ ที่พลังแห่งความว้าวุ่นแบบคนอายุน้อย และความกระตือรือร้น ถูกนำมาใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม) เขาปักใจเชื่อว่าฆาตกรอย่างสเปซีย์นั้นวิกลจริต และมันก็กลายเป็นเรื่องสายเกินไป เมื่อท้ายที่สุดเขาก็ได้เห็นวีธีการอันน่าสยดสยองของฆาตกรรายนี้ Seven เป็นทั้งการโดดอย่างผลีผลามเข้าไปในความลึกล้ำของนรก และการสร้างบทสุดท้ายแห่งหายนะอย่างเชื่องช้าและระมัดระวัง เพื่อให้พลัง, การเล่าเรื่อง ทำงานอย่างได้ผลเพื่อให้รู้สึกถึงโลกที่ยิ่งกว่าไร้ความหวัง ซึ่งมากกว่าที่บทสรุปของหนังว่าเอาไว้เสียอีก

Zodiac (2007): หนังที่เยี่ยมยอดที่สุดของเดวิด ฟินเชอร์ ที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นงานที่เต็มไปด้วยความหมกมุ่นอย่างที่สุดของเขา และแสดงให้เห็นถึงอันตรายของความการหมกมุ่น-ลุ่มหลง ตัวละครหลักทั้ง 3 คนของหนัง เจค กิลเลนฮาล ผู้มุ่งมั่น เปี่ยมอารมณ์ขัน, มาร์ค รัฟฟาโล เจ้าแบบแผนตัวแสบ และโรเบิร์ท ดาวนีย์ จูเนียร์ กับบทจอมถากถาง เย้ยหยัน ที่ดูผ่อนคลายที่สุด ซึ่งแต่ละคนได้รับคำชมในเรื่องการแสดง และล้วนเดินเข้าไปในโพรงกระต่ายที่นำไปสู่ความผิดพลาด, ทางตัน และ ร่องรอยที่หลอกล่อพวกเขา โดยไม่เคยทำให้รู้สึกพอใจในการค้นพบได้เลย

ธรรมชาติของความเป็นคนย้ำคิดย้ำทำของฟินเชอร์ ทำให้เขาเหมาะมากกับเรื่องราวอาชญากรรมแบบนี้ ที่แม้จะมีข้อมูลเต็มไปหมด แต่ก็ยากที่จะแยกแยะ Zodiac เป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่องของฟินเชอร์ ที่ “โชว์” น้อยที่สุด และเป็นหนึ่งในงานที่น่าประทับใจที่สุด แต่ละช็อต แต่ละภาพ ช่วยทำให้กระบวนการค้นหาเป็นไปอย่างช้าๆ, เต็มไปด้วยอุปสรรค และแทบไม่เกิดการค้นพบ นี่คืองานระทึกขวัญที่เข้มข้นที่สุดเรื่องหนึ่งของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากเปิดเรื่องที่ทำได้อย่างยอดเยี่ยม และน่าลุ่มหลงด้วยการใช้เพลง Hurdy Gurdy Man ของโดโนแวน และฉากที่ตัว โรเบิร์ท เกรย์สมิธของกิลเลนฮาลพบว่าตัวเองอยู่ในห้องใต้ดินของ่ชายแก่เพี้ยนๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นฆาตกร

หนังเล่าเรื่องตามหนังสือของเกรย์สมิธที่เกี่ยวกับนักฆ่าจักรราศีอย่างใกล้ชิด แต่ท้ายที่สุด อีกครั้งที่ฟินเชอร์บิดเรื่องราวมาเป็นข้อได้เปรียบของตัวเอง ตามติดทฤษฎีของเกรย์สมิธ ไปพร้อมๆ กับแสดงให้เห็นว่า ทุกการทำงานที่ไม่มีปิดจ็อบได้จบสมบูรณ์ ล้วนนำไปสู่บทสุดท้ายที่เต็มไปด้วยความสงสัย สิบนาทีสุดท้ายของหนัง เป็นการยืนยันที่เต็มไปด้วยอคติยิ่งกว่าการยืนยัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นอย่างสุดโต่งในเรื่องหนึ่ง สามารถทำให้เราเพิกเฉยรายละเอียดเล็กๆ ที่ไม่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่อีกบทสรุปหนึ่งเอาได้ง่ายๆ

จากเรื่อง จากหนังแย่ ถึงหนังเยี่ยมของ เดวิด ฟินเชอร์ โดย นพปฎล พลศิลป์ คอลัมน์​แกะกล่องหนังแผ่น นิตยสารเอนเตอร์เทน ฉบับที่ 1170 16 ตุลาคม 2557

ให้กำลังใจด้วยการคลิกไลค์เพจสะเด่าส์ได้ง่ายๆ ที่นี่

 

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

More in:FEATURES

Comments are closed.