FEATURESMusic Featuresดนตรีมีเหตุ

เรื่องลิขสิทธิ์ ยิ่งคิดก็ยิ่งแปลก เมื่อแอปเปิล, โซนี และกูเกิล ถูกฟ้องจากการใช้เพลงที่บันทึกเสียงก่อนปี 1972

เห็นในเฟซบุ๊คแชร์จดหมายเรียกตัวสบชัย ไกรยูรเสน ไปให้การเป็นพยานในคดีที่เจ้าต้วไปร้องเพลงของตัวเองในงานแต่งงาน แล้วเจ้าของงานถูกฟ้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์ จากค่ายเพลงอดีตต้นสังกัดของสบชัย ก็รู้สึกแปลกๆ กับการทำงานของค่ายเพลงเมืองไทยอยู่เหมือนกัน แม้จะเป็นสิทธิ์ที่พึงทำได้ แต่การมาไล่จับเพลงที่ถูกเล่นในงานแต่งงาน มันดูจะน่าเกลียดเกินไปหน่อย

พอดีเห็นข่าวที่บรรดาผู้ให้บริการฟังเพลงสตรีมมิงทั้งหลาย โดนผู้ถือลิชสิทธิ์ฟ้อง เพราะเอาเพลงที่บันทึกเสียงก่อนปี 1972 มาเล่น ก็เลยหยิบเอามาเล่าต่อ แม้จะไม่ใช่กรณีเดียวกัน แต่ก็ได้เห็นการทำงานเพื่อศิลปินจริงๆ ของผู้ดูแลลิขสิทธิ์เพลง

เพราะกับตัวบทกฏหมายที่ออกมาในยุค 70 จะควบคุมป้องกันไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์เฉพาะงานเพลงที่ทำการบันทึกเสียงหลังจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1972 ส่วนเพลงก่อนหน้านั้นจะไม่ได้รับการดูแล ทำให้บรรดาสถานีวิทยุต่างๆ รวมไปถึงร้านอาหาร, ผับ, บาร์ พากันหยิบเพลงที่ออกก่อนหน้านั้นมาเล่น เพราะไม่ต้องไปกังวลเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ล่าสุดเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงที่ถูกบันทึกเสียงของวง the Flying Burrito Brothers, Hot Tuna และ New Riders of the Purple Sage ได้ทำการฟ้องบริษัทให้บริการฟังเพลงสตรีมมิงใหญ่ๆ ถึง 7 บริษัท ว่าทำการละเมิดโดยการเล่นเพลงที่ออกมาให้ฟังก่อนปี 1972 ซึ่งบริษัทที่ถูกฟ้องก็ได้แก่ บีทส์ของแอปเปิล, โซนี, กูเกิล, อาร์ดิโอ, ซองซา, สแลคเกอร์ และบริษัท กรูฟชาร์ค ที่เป็นผู้วางระบบสตรีมมิงให้กับผู้ให้บริการรายต่างๆ

เจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ว่า ก็คือเซนบู แมกาซีน ซึ่งทำเงินจากการจัดจำหน่ายงานเพลง, ค่าชดเชย และจัดระเบียบการให้ใช้งานเพลง ที่จะกันบริษัทออกมาจากการถูกนำเพลงไปใช่อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยในการฟ้องร้องครั้งนี้ แจ็ค ฟิทซ์เจอราลด์ ทนายของเซนบู ไม่ได้ทำการฟ้องแยกกันแต่ละบริษัท หากเป็นการฟ้องในนามกลุ่มบุคคล

สำหรับคำฟ้องที่มีต่อโซนี มีใจความว่า ทางบริษัทได้ทำการจัดจำหน่ายเพลงผ่านเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน อย่าง “ไม่เหมาะสม, ไร้จรรยาบรรณ, ไม่ซื่อตรง หรือทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวง” โดยโซนีได้มีการเสนอให้กับผู้ใช้งานฟังเพลงผ่านบริการ Music Unlimited ซึ่งจะเก็บค่าบริการเดือนละ 4.99 เหรียญ และมีหลายๆ เพลงเป็นผลงานของศิลปินที่ทางเซนบูเป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์ให้

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า ในยุค 70s ได้มีการออกกฏหมายที่ควบคุมเฉพาะผลงานที่บันทึกเสียงกันหลังปี 1972 แต่ในปี 2013 the Turtles ศิลปินร็อคจากยุค 60s ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายถึง 100 ล้านเหรียญ กับ ซิรีอุสเอ็กซ์เอ็ม ผู้ให้บริการเพลงสตรีมมิง โดยอ้างว่า เพลงของพวกเขาได้รับการปกป้องจากกฏหมายในระดับรัฐ และเมื่อเดือนตุลาคมปี 2014 ศาลแคลิฟอร์เนีย ตัดสินตามที่ได้มีการฟ้องร้อง และหลังจากนั้นศิลปินเจ้าของเพลง Happy Together รายนี้ก็ฟ้องทางแพนดอรา ผู้ให้บริการสตรีมมิงอีกราย โดยเรียกค่าเสียหาย 25 ล้านเหรียญ

โดยในปี 2013 ทางแพนดอราและซิริอุสเอ็กซ์เอ็ม ได้จ่ายส่วนแบ่งของค่าลิขสิทธิ์เป็นจำนวนสูงที่สุด มากถึง 656 ล้านเหรียญ ซึ่งทางซาวนด์เอ็กซ์เชนจ์ บริษัทที่ดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ศิลปินเป็นผู้รวบรวม

รับรู้ข่าวนี้แล้ว ก็น่าเศร้าใจกับเรื่องของกฏหมายลิขสิทธิ์ในบ้านเรา ที่ไม่สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับทั้งศิลปิน คนทำงาน หรือว่าค่ายเพลงเลย

จนทำให้เกิดการจัดเก็บที่พิลึกพิลั่นออกมาอย่างที่เห็น

จากเรื่อง เมื่อแอปเปิล, โซนี และกูเกิล ถูกฟ้องจากการใช้เพลงที่บันทึกเสียงก่อนปี 1972 โดย นพปฎล พลศิลป์ ดนตรีมีเหตุ หนังสือพิมพ์ไทยโพสท์ วันที่ 30 มกราคม 2558

สามารถกดไลค์ Like เพจสะเด่าส์ ได้ที่นี่

 

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

More in:FEATURES

Comments are closed.