50 ศิลปิน 50 เพลย์ลิสต์FEATURESMusic Features

50 ศิลปิน 50 เพลย์ลิสต์ – 6 คีธ ริชาร์ดส์ กับเพลย์ลิสต์ เพลงที่เป็นรากดนตรีและเร็กเก

“เมื่อนิตยสารโรลลิง สโตน ให้ศิลปิน 50 รายมาจัดเพลย์ลิสต์ ไล่ตั้งแต่ มิก แจกเกอร์ กับเพลงบลูส์ ไปจนถึงเดรกกับจิมิ เฮนดริกซ์ ศิลปินเหล่านี้ ชอบเพลงอะไร? ของใครบ้าง? และคราวนี้เป็นคิวของ คีธ ริชาร์ดส์ มือกีตาร์อมตะของวงดนตรีตำนาน ‘The Rolling Stones’
(แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง The Playlist Issue นิตยสารโรลลิง สโตน)

“เมื่อคุณถูกขอให้ทำรายชื่ออะไรแบบนี้ คุณไม่ต้องเลือกเพลงอะไรที่มันเห็นกันโต้ง ๆ หรอก เรารู้จักพวกงานคลาสสิกกันดีอยู่แล้ว และเราก็เห็นลิสต์อะไรแบบนั้นเป็นพัน ๆ ลิสต์ ผมพยายามคิดถึงงานที่หล่นหายไปตามรอยแยก ลิสต์นี้จะเป็นเพลงแบบผสม เป็นเพลงที่บางอย่างมีเสน่ห์กับผมจริง ๆ ผมมองดูรายชื่อแล้วก็คิด…. ‘เป็นลิสต์ที่ดีเลยนะเนี่ย ผมสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมันได้เลย’”


1. “Stagolee” – เจสซี ฟูลเลอร์ (1958): “เพลงนี้น่าจะบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับความรู้สึกของผมได้ มันมีส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างมากในตัวเขา แร็กไทม์, บลูส์, โฟล์ก และคันทรี แล้วเขาก็เป็นศิลปินแบบทั้งวงมีคนเดียว”


2. “When Did You Leave Heaven” – บิก บิลล์ บรูนซี (1951): “เขาเป็นศิลปินเพลงบลูส์อเมริกัน ที่รู้จักกันดีในอังกฤษช่วงยุค ‘50s มีฟุตเตจของเขากำลังร้องเพลง ในร้านขายเหล้าที่เบลเยี่ยม หรืออะไรทำนองนั้น ลองหาดู”


3. “It Hurts Me Too” – เอลมอร์ เจมส์ (1957): ไบรอัน โจนส์ เป็นคนแนะนำให้ผมรู้จักกับเอลมอร์ เสียงของเขาจับใจมาก ๆ แล้วการเล่นสไลด์ที่ไม่ธรรมดาของเขา ก็ดูเหมือนไม่ต้องพยายามอะไรเลย สิ่งที่ทำให้เขาโดนผมก็คือ ลักษณะของเขาที่ดูเหมือนพวกครูสอนในโรงเรียน มันน่าเคารพมาก ๆ”


4. “Blues Hangover” – สลิม ฮาร์โพ (1960): “เพลงที่เป็นเหมือนความชุ่มฉ่ำ ที่ต้องเป็นเพลงนี้ ก็เพราะว่าเขามันจะพาวงดนตรีทั้งวงแฮงก์โอเวอร์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน”


5. “Key to the Highway” – ลิตเติล วอลเทอร์ (1958): “วิธีที่วงเล่นอยู่ข้างหลังของวอลเทอร์ ทำให้เพลงนี้ฟังสนุก นี่เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดของเพลงนี้ตลอดกาล”


6. “Piece of My Heart” – เออร์มา แฟรงคลิน (1967): “เจนิส จอปลิน คัฟเวอร์เพลงนี้ได้ดี แต่เออร์มาคือเจ้าของเพลง เธอคือน้องสาวของอารีธา เสียงของเธอจะหยาบกว่า ขณะที่เสียงของอารีธาจะฟังสะอาดมากกว่า”


7. “In Dis Ya Time” – The Itals (1998): ไม่มีคำอธิบาย


8. “Innocent People Cry” – เกรกอรี ไอแซ็กส์ (1974): “ดิ อิทัลส์ เป็นเร็กเก้ที่เสียงประสานเป็นไปตามแบบแผนของดนตรีเร็กเก เป็นหมุดหมายที่บอกว่าเร็กเกควรมีซาวนด์ออกมาแบบไหน และไอแซ็กส์ก็เขียนเพลงที่แสนมหัศจรรย์ขึ้นมา ผมต้องใช้เวลาอยู่หลายเดือนในจาไมกา กว่าจะหาเพลงนี้เจอ ผมถามหาเพลง “Chookie No Lookie” ไปทั่ว แล้วทุกคนก็ทำหน้างง ๆ ส่งสายตาที่ว่างเปล่ามาให้ จากนั้นมันก็ ‘อ่อ… คุณหมายถึงเพลง ‘Innocent People Cry’” ซึ่งชื่อเพลงมันกลายเป็นแบบนั้นได้ยังไง?” (* Chookie No Lookie คือท่อนคอรัสของเพลง “Innocent People Cry”)


9. “Memphis, Tennessee” – ชัก เบอร์รี (1958): “ผมคิดว่าเขาคงเล่นได้ทุกอย่าง ยกเว้นกลองกับเปียโนตัวเล็ก ๆ วิธีที่กีตาร์มันเข้ามาผสมกัน มีบางอย่างอยู่ในนั้น ทำเอาผมต้องถอดหมวกคารวะเลย สุดยอดจริง ๆ”


10. “32-20” – โรเบิร์ต จอห์นสัน (1936): “เฮ้… มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับปืนนี่”

สนับสนุนเราได้ที่ -:> https://facebook.com/becomesupporter/Sadaos/ หรือที่บัญชีธนาคารกสิกรไทย หมายเลข 100-2-10283-4 แล้วส่งสลิปการโอนมาที่กล่องข้อความของเพจ sadaos หรือที่อีเมล shopsadaos@gmail.com เพื่อรับของขวัญแทนคำขอบคุณ

ติดตามอ่านเรื่องราว ข่าวสาร ชมตัวอย่าง ชมคลิป ชม MV อ่านวิจารณ์หนังและเพลง ได้ด้วยการกดไลค์เพจสะเด่าส์ ได้ที่นี่

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

Comments are closed.