ClassicFEATURESMusic FeaturesONE SHOT

ทำความรู้จักกับเทศกาลดนตรีระดับตำนานที่ถูกลืม ซัมเมอร์แจม ที่ทำให้ วูดสต็อค ต้องอาย

เมื่อพูดถึงเทศกาลดนตรีใหญ่ระดับตำนาน คนดูมหาศาล ชื่อที่หยิบยกขึ้นมาก็คงไม่พ้น Woodstock, Monterey และ the Isle of Wight แต่อย่างตกใจ หากจะบอกว่า เทศกาลดนตรีบิ๊ก ระดับตำนานสามงานที่ว่ามา ในแง่ของปริมาณผู้ชม ยังแพ้อีกหนึ่งเทศกาลดนตรี แต่น่าเสียดายที่งานนี้กลับถูกลบลืมหาย ซึ่ง www.udiscovermusic.com เอามาบอกเล่ากันไว้ไม่ให้ลืม

 

summer-jam-copy

โปสเตอร์งานเทศกาลดนตรี Summer Jam

เทศกาลดนตรีที่ว่า ก็คือ เดอะ ซัมเมอร์ แจม ที่วัตกินส์ เกล็น, สนามแข่งรถกรัง ปรีซ์ที่นิว ยอร์ค ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 1973 โดยมีผู้เข้าชมมหาศาลในระดับทุกบสถิติกระจายอย่างไม่น่าเชื่อถึง 6 แสนคน โดยมีวงดนตรีที่มอบความบันเทิงให้ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าแค่ 3 วงเท่านั้น ได้แก่ the Allman Brothers Band, the Grateful Dead และ The Band

ด้วยจำนวนผู้เข้าชมขนาดนี้ น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการยกให้ซัมเมอร์ แจม เป็นเทศกาลดนตรีที่มีผู้ชมจำนวนมากที่สุด และกินเนสส์ บุ๊คหนังสือบันทึกสถิติที่สุดของโลกก็บันทึกเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หากถามถึงตัวเลขแบบประเมิน คนดูงานนี้จะมากไปกว่านี้อีก ขณะที่วูดสต็อค มีคนเข้าร่วมงานเพียงแค่ 4 แสนคนเท่านั้นเอง แล้วหากมองย้อนไปจากวันนี้ ซัมเมอร์ แจม ยังให้นิยามการทำงานที่ขยายขอบเขตของดนตรี ด้วยการแจมดนตรีร่วมกันของศิลปินทั้งหลาย ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะเด่นของดนตรีร็อคในยุค 70

จุดเริ่มต้นของซัมเมอร์ แจมเกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้า เมื่อ 2 โปรโมเตอร์คอนเสิร์ต เชลลี ฟิงเคลกับจิม ค็อปลิค เป็นโต้โผให้คอนเสิร์ตเดอะ เกรทฟูล เดด ที่ฮาร์ทฟอร์ด, คอนเน็คติกัท แล้ว ดิคกีย์ เบ็ทท์ส, เบอร์รี โอคลีย์ และไจมอน สามสมาชิกของดิ ออลแมน บราเธอร์ส แบนด์ ขึ้นไปแจมแบบไม่ได้มีการเตี้ยมเอาไว้

กับการแสดงที่วัตกินส์ เกล็น ก็ไม่ได้เตรียมไว้ก่อนหน้าว่าจะเป็น ฟรีคอนเสิร์ต เมื่อสถานที่น่าจะจุดคนได้ราวๆ แสนกว่าคน ทางผู้จัดเลยจำหน่ายบัตรล่วงหน้าไปราวๆ 150,000 ใบด้วยราคา 10 เหรียญ โดยที่ผู้ชมนอกเหนือจากนี้ที่โผล่เข้ามาในงาน โดยจับจองสถานที่บริเวณทางวิ่งของสนาม ซึ่งห่างจากเวทีเอามากๆ แทบจะไม่ได้สัมผัสอะไรกับการแสดงบนเวทีเลย

summer-jam-ticket-300x92

บัตรเข้าชม

กระทั่งการทำซาวนด์เช็คก่อนแสดงของซัมเมอร์ แจม ก็ถือว่าเป็นตำนานได้เหมือนกัน โดยการซ้อมแบบเหมือนจริงของเดอะ เกรทฟูล เดด กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในบ็อกเซ็ทชุด So Many Roads (1965-1995) ที่ออกเมื่อปี 1999 ของวง และกับการแสดงเปิดงาน เดอะ เดดเล่นโชว์แบบยาวเหยียดถึง 2 เซ็ท หลังจากนั้นก็เป็นเดอะ แบนด์ ที่ขึ้นมาเล่นต่อด้วยความยาวร่วมๆ 2 ชั่วโมง

พอดิ ออลแมนส์ ขึ้นเวที ผู้ชมก็อุ่นเครื่องกันได้ที่เรียบร้อย และการแสดงของพวกเขาในงานนี้ก็เหมาะเหม็งพอดี เพราะพวกเขาเพิ่งออกอัลบั้ม Brothers and Sisters และทำให้ซัมเมอร์ แจมกลายเป็นงานของวงไป โดยหลายๆ เพลงในวันนี้ กลายเป็นเพลงประจำคอนเสิร์ตของพวกเขาไปเลย เช่น Statesboro Blues และ Whipping Post

summer-jam-crowd-300x200

จำนวนผู้ชมมืดฟ้า มัวดิน

นอกจากนี้ยังมีเพลงใหม่เอี่ยมอ่อง Come and Go Blues ของเกร็ก ออลแมนที่ถูกหยิบมาเล่น ซึ่งถูกนำไปใส่ไว้ในงานรวมเพลงแสดงสดชุด Wipe The Windows, Check The Oil, Dollar Gas ที่ออกในปี 1976 ด้วย ดิ ออลแมนใช้เวลาแสดงเหมือนเช่นที่เคยเป็น คือ 3 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้น เพื่อแสดงความจริงใจต่อสปิริตของผู้ชมในวันนั้น สมาชิกของทั้งสามวงขึ้นเวทีมาเล่นร่วมกัน ในแบบของการแจมด้วยเพลงอย่าง Johnny B. Goode และ Not Fade Away

“ใครจะอธิบายได้ล่ะ” ค็อปลิค พูดในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะ วอชิงตัน โพสท์ “เราใช้เงินค่าโฆษณาไปไม่ถึง 3 หมื่นเหรียญ แล้วก็ขายบัตรใบละ 10 เหรียญได้ 150,000 ใบ แต่ไม่เคยฝันเลยว่าจะมีคนมาดูมากขนาดนี้ ผมเดาเอาว่า พวกเขาคงคิดว่า คอนเส็ปท์มันน่าสนใจ การไปสนุกกับดนตรีหนึ่งวันเต็มๆ ในประเทศนี้”

จากเรื่อง Summer Jam เทศกาลดนตรีที่ถูกลืม คอลัมน์ ดนตรีมีเหตุ โดย นพปฎล พลศิลป์ หนังสือพิมพ์ ไทยโพสท์ 9 สิงหาคม 2559

ติดตามอ่านเรื่องราว ข่าวสาร ชมตัวอย่าง ชมคลิป ชม MV อ่านงานวิจารณ์หนัง และเพลง แบบนี้ ได้ด้วยการกดไลค์ Like เพจสะเด่าส์กันไว้ก่อน ได้ที่นี่

 

watkinsposter

โปสเตอร์ในอีกแบบหนึ่ง

summerjam

โปสเตอร์ สไตลฺไซคีดีลิค

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

More in:Classic

Comments are closed.