etc FeaturesFEATURESโลกมายา

ทีวีสาธารณะ 2…

ประเด็นที่ US PBS ถูกวิจารณ์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการบริหารจัดการผู้บริหารและพนักงานในองค์กร ซึ่งเชื่อมกับที่มาของเงินทุนสนับสนุนองค์กร สื่อสิ่งพิมพ์อเมริกันบางฉบับเคยวิจารณ์รูปแบบการบริหารของสถานีแห่งนี้ว่า น่าจะทำให้มีรูปแบบเชิงพาณิชย์มากขึ้น ในเมื่อผู้บริหารของสถานีมีรายได้จำนวนมากพอๆ กับช่องทีวีพาณิชย์อื่นๆ เช่น ABC, NBC, CBS, FOX หรือ CNN หมายถึง เป็นองค์กรสื่อไม่หวังผลกำไรก็จริง แต่มีลักษณะการทำงานในเชิงพาณิชย์อยู่ในที ซึ่งก็เหมือนองค์กรไม่หวังผลกำไรหลายองค์กรในอเมริกาที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวนมาก จนผู้บริหารตั้งเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของตัวเองสูงมากจนดูน่าเกลียด

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเดียวกันนี้ คงไม่สามารถวิจารณ์การบริหารงานของ US PBS ได้ทั้งหมดเสียทีเดียว เพราะการให้ความสนับสนุนสถานีแห่งนี้ของประชาชนหรือองค์กรเอกชนต่างๆ เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ส่วนหนึ่ง อย่างน้อยก็มีการระดมทุนเพื่อเป็นทุนในการบริหารงานของสถานีแห่งนี้ทุกปี และยังมีคนอเมริกันให้การสนับสนุนสื่อสาธารณะแห่งนี้อย่างมากมาย หากเมื่อเทียบกับ Thai PBS ที่กลไก (หน่วยงาน) ของรัฐไทยให้การสนับสนุนแล้ว นับว่าแตกต่างกันอย่างมากเลยทีเดียว

คำถามก็คือ คณะกรรมการ (บอร์ด) ของ Thai PBS ที่แม้จะเป็นองค์กรอิสระก็จริง แต่จะให้เชื่อว่าอิสระจริงได้อย่างไร ในเมื่อผูกโยงกับฝ่ายการเมืองในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินในสัดส่วนที่แทบจะร้อยทั้งร้อย (กฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนไทยสนับสนุนด้านการเงิน แต่ก็น่าเชื่อว่า เงินส่วนนี้มีจำนวนน้อยมาก??? ทั้งยังเป็นเรื่องลึกลับที่รู้กันอยู่เฉพาะวงใน)

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงาน โดยเฉพาะการทำรายการของ US PBS ที่มีการทำงานแบบเป็นทีมสูง แต่ดูเหมือน Thai PBS กลับให้ภาพความเป็นปัจเจกของคนทำรายการมากกว่าอย่างอื่น คือ มุ่งสนองต่อความเป็นปัจเจกของผู้จัดทำ (ผลิต) หรือผู้สร้างสรรค์รายการมากกว่า ทั้งนี้อาจเพราะคนไทยทำงานเป็นทีมกันไม่ค่อยเป็นหรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่น่าคิด

ประเด็นที่น่าจับตามองอีกประการที่เกี่ยวกับนโยบายการทำงานของ US PBS คือ การมุ่งกระจายแห่งที่มาของรายการไปยังเอกชนอื่นๆ นอกเหนือเครือข่ายขององค์กร (Third Party Sources) เช่น NETA, American Public Television, WTTW National Productions เป็นต้น เพื่อทำงานด้านผลิตรายการอีกทาง ทำให้เกิดความหลากหลายต่อผู้ชม หรือคนรับสื่อ และมีรายการทางเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดพัฒนาการของการทำสื่อที่มาจากมวลชนจริงๆ แม้กระทั่งการรายงานข่าวจากพื้นที่นั้นๆ ในแต่ละท้องถิ่น

ในประเด็นเดียวกันนี้ ไม่ทราบว่า Thai PBS ได้ก้าวหน้าไปถึงไหน หรือมีการพยายามรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลางหรือไว้ที่องค์กรที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดหรือไม่, หมายถึง อำนาจของคณะกรรมการด้านนโยบายและอำนาจในส่วนของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งหากเป็นอย่างว่านี้ ก็เท่ากับ Thai PBS มุ่งสนองต่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเท่านั้น และเป็นองค์กรสาธารณะที่มีนโยบายและการบริหารที่คับแคบมาก จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขณะเดียวกัน ในส่วนของรายการที่พยายาม ”ดันประชาชน” (นักข่าวพลเมือง) ให้ทำสื่อทีวีให้เป็นนั้น ก็ไม่แน่ชัดว่าจะได้ผลอะไรมากนัก จากปัญหาที่เป็นสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก แรงจูงใจให้ประชาชน (พลเมือง) ทำรายการออกมาดีๆ มีหรือไม่ ในสัดส่วนเท่าไร หรือเป็ยการมุ่งโปรโมทสร้างภาพว่า เป็นทีวีประชาชนหรือเป็นทีวีสาธารณะเท่านั้น โดยที่เงินเดือนและผลตอบแทนของคณะผู้บริหารก็เลยหลักแสนกับแทบทั้งสิ้น ประการที่สอง ยังไม่มีการประเมินผลรายการพลเมืองดังกล่าวนี้อย่างจริงจังแต่อย่างใด ดูไปจึงไม่ต่างไปจากรายการโชว์รายการหนึ่ง (อย่างน้อยๆ ก็จำอวดภาษาท้องถิ่นให้ได้เห็นกันทางทีวี) ติดอยู่กับกระพี้ ไม่ได้นำเสนอเชิงลึกถึงแก่นจริงๆ ของปัญหา ของชาวบ้านจริงๆ เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ตรงๆ อย่างนี้ เพราะต่าง (ก็อ้าง)เป็นทีวีสาธารณะด้วยกันทั้งคู่.

ทั้งหมดสองตอนสองวันติดต่อกันคือ ทัศนะและมุมมองของ ”นักข่าวไทย” ที่ไปอยู่อเมริกาหลายปี และได้เห็นทีวีสาธารณะของเทศ..แล้วกลับมาเห็นของไทย..สนจ.ว่า มันน่าสนใจ..และน่าจะรับรู้กันใน ”วงกว้าง”… รู้แล้วจะได้ประโยชน์อะไร อันนี้ก็ต้องไป ”ตอบโจทย์” กันเอาเองหละครับ ทั้งคนทำทีวี คนดูทีวี และคนเสีย ”ภาษี” ให้ทำทีวี…

จากเรื่อง เปรียบเทียบ ”ทีวีสาธารณะ แบบอเมริกา-ไทย ” -2 โดย สนานจิตต์ บางสพาน คอลัมน์ โลกมายา หนังสือพิมพ์ สยามดารา วันที่ 12 กันยายน 2013

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

More in:etc Features

Comments are closed.