FEATURESMusic Featuresวันนี้ ในโลกดนตรี

วันนี้ในโลกดนตรี 22 กันยายน

วันนี้ หนึ่งเพลงที่ฮิตที่สุดในโลก กลายเป็นสมบัติสาธารณะ วันเกิดของแม่ทูนหัวแห่งดนตรีพังก์ ซีรีส์เกิดใหม่ ที่กลายเป็นงานแจ้งดังให้กับดูโอโนเนม และวันที่ Nirvana ขึ้นเวทีเล่นคอนเสิร์ตที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง

1958: วันเกิดของโจน เจ็ตต์ มือกีตาร์ร็อค, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์ ผู้ก่อตั้งวง The Runaways และ Joan Jett & the Blackhearts เจ้าของเพลงฮิตอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาและอันดับ 4 ในอังกฤษเมื่อปี 1982 “I Love Rock ‘n’ Roll” โดยเธอได้รับสมญานามว่าเป็น “แม่ทูนหัวของพังก์”

เจ็ตต์มีชื่อจริง ๆ ว่า โจน แมรี ลาร์คิน เกิดที่ไวนน์วูด ชานเมืองฟิลาเดลเฟีย นอกจาก “I Love Rock ‘n’ Roll” รวมถึง “I Hate Myself for Loving You”, “Do You Wanna Touch Me”, “Light of Day” และ “Bad Reputation” ที่เป็นเพลงฮิตของวงเดอะ แบล็คฮาร์ตแล้ว เจ็ตต์ยังมีเพลงฮิต อย่าง “Cherry Bomb” กับรันอะเวย์


เจ็ตต์มีงานถึงสามชุดที่ทำยอดขายในระดับแผ่นแพลตินัมหรือแผ่นเสียงทองคำ รวมถึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องรณรงค์เพื่อสิทธิสตรีตลอดชีวิตการทำงาน ในปี 2015 เธอได้รับการจารึกชื่อในหอประกาศเกียรติคุณร็อคแอนด์โรลล์

1990: Nirvana ได้เล่นโชว์ของตัวเองที่มีผู้ชมมากที่สุด ที่มอเตอร์ สปอร์ตส์​อินเตอร์เนชันแนล การาจา ในซีแอตเทิล

โดยเดฟ โกรห์ล ที่จะออดิชันเป็นมือกลองคนใหม่ของวงในเวลาต่อมา คือหนึ่งในผู้ชมจำนวน 15,000 คน

1994: ซีรีส์ ‘Friends’ ออกอากาศตอนแรกทางสถานีเอ็นบีซี โดยมีเพลงธีมติดหู ผลงานของวง The Rembrandts ที่กลายเป็นเพลงฮิตในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

ซิตคอมว่าด้วยเพื่อน ๆ ในวัยเลข 20 ที่ประกอบด้วย โมนิกา (คอร์ตนีย์ ค็อกซ์), ราเชล (เจนนิเฟอร์ อนิสตัน), ฟีบี (ลิซา คุโดรว์), รอสส์ (เดวิด ชวิมเมอร์), แชนด์เลอร์ (แม็ทธิว เพอร์รี) และโจอีย์ (แม็ตต์ เลอบล็อง) ที่ต้องใช้ชีวิตในนิว ยอร์กซิตี โดยมีกันและกัน เรื่องนี้เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ เควิน ไบรต์, มาร์ทา คอฟแมน และเดวิด เครน ที่ร่วมกันเป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารของซีรีส์ด้วย

ไบรต์เป็นแฟนของวงดูโอพ็อป-ร็อค เดอะ เรมแบรนด์ตส์ อยู่ก่อนแล้ว และเลือกพวกเขามาทำเพลงธีมให้กับซีรีส์ ซึ่งเป็นเพลงสนุก ๆ และฟังติดหูในสไตล์เดียวกับงานของ R.E.M. – “It’s the End of the World As We Know It” ระหว่างนั้นไมเคิล สคลอฟฟ์ มือทำดนตรีประกอบก็กำลังทำงานอยู่กับอัลลี วิลลิส จากการให้สัมภาษณ์กับเว็บ Songfacts วิลลิสเล่าว่า เธอกำหนดทิศทางของเพลงนี้ไว้อย่างเดียวคือ ใช้คำร้องที่ว่า “I’ll be there for you” ซึ่งต่อมากลายมาเป็นชื่อเพลง “มันก็แค่เป็นการแสดงถึงความผูกพันกันในฐานะเพื่อน ไม่สำคัญว่าชีวิตของนายจะเส็งเคร็งแค่ไหน ฉันยังอยู่ตรงนี้เพื่อคุณ” เธออธิบาย

ซึ่งทีมงานก็รู้ว่ามันเป็นธีมที่มีเรื่องราวน้อยมาก แต่เพียงแค่นั้นก็กลายเป็นงานฮิตได้ หลังจากสถานีวิทยุในแนชวิลล์ เล่นเพลงฉบับ 48 วินาทีวนไปมาจนกลายเป็นเพลงเต็ม ๆ ก่อให้เกิดปฏิกริยาตอบรับจากคนฟัง กระตุ้นให้มีการทำเป็นเพลงขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการ เดอะ เรมแบรนด์ตส์เลยร่วมกับวิลลิส, สคอลฟฟ์ และผู้อำนวยการสร้างของโชว์ เพื่อเติมเนื้อร้องและท่อนแยกลงไปอีก เพื่อทำให้เป็นเพลงเต็ม ๆ ซึ่งกลายมาเป็นเพลงฮิตของวงดูโอรายนี้ “I’ll Be There For You” ซึ่งขึ้นอันดับ 1 ชาร์ต Hot 100 Airplay และเป็นเพลงฮิตอันดับ 17 ในสหรัฐอเมริกา


นอกจากเพลงธีมที่กลายเป็นที่จดจำ เพลงต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในทั้ง 10 ฤดูฉายของ ‘Friends’ ต่างก็มีช่วงเวลาสำคัญของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น รอสส์กับราเชลที่ท้ายที่สุดก็คลิกกัน โดยมีเพลง “Wicked Game” ของคริส ไอแซ็กประกอบ แล้วเมื่อต้องแยกทาง (พวกเขาเคยแยกทางกันจริง ๆ นะ!) ก็เป็น “With or Without You” ของ U2 ส่วนเพลงของเอริก คาร์เมน “All By Myself” ก็บอกเป็นนัย ๆ ให้กับผู้ชมถึงความเปลี่ยวเปล่าของอดีตเพื่อร่วมห้องรายใหม่ โจอีย์กับแชนด์เลอร์ แล้วก็ยังมีเพลงจากวง The Mighty Mighty Bosstones, Smash Mouth, Hootie & the Blowfish และ Semisonic ถูกใช้ในเรื่องอีกด้วย

แต่ไม่มีเพลงไหนที่เข้ากับโชว์ได้อย่างลงตัว และกลายเป็นธีมตำนานได้เท่ากับเพลงจาก เดอะ เรมแบรนด์ตส์

2015: การถือครองลิขสิทธ์เพลง “Happy Birthday” หมดอายุ ทำให้เพลงนี้กลายเป็นสัมบัติสาธารณะ

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เพลง “Happy Birthday” คือหนึ่งในเพลงเพลงสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์มากที่สุดในโลกดนตรี โดยทำเงินได้ทุกปี ปีละราว ๆ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเพลงนี้ถูกนำไปใช้ในภาพยนตร์, โทรทัศน์ หรือโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่รู้กันดี แต่ก็มีเรื่องแสบ ๆ เกิดขึ้นกับการใช้เพลงนี้เหมือนกัน ตอนนั้นนักพยากรณ์อากาศที่ชื่อ สตอร์ม ฟิลด์ ของสถานีช่อง 9 (ในรายงานไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม) อายุครบ 50 ปีพอดี และบรรดาทีมผู้อ่านข่าวก็จบช่วงการพยากรณ์อากาศของเขา ด้วยการร้องเพลง “Happy Birthday” ให้ จากนั้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ทางสถานีก็ได้รับใบเสร็จให้ไปชำระค่าลิขสิทธิ์ และทางสถานีก็ต้องไปเจรจาต่อรอง เพราะพวกเขาร้องเพลงนี้ในการออกอากาศ

และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บรรดาร้านอาหารทั้งหลาย หรือส่วนใหญ่ ต่างร้องเพลง “Happy Birthday” ที่เป็นธีมของตัวเอง เพราะถ้าร้อง “Happy Birthday” ฉบับที่รู้จักกันดีเมื่อไหร่ พวกเขาจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์

ที่มาของเพลงนี้มีมายาวนานและมีประวัติศาสตร์วุ่นวายไม่น้อย ย้อนไปในปี 1893 ตอนนี้พี่น้องสองสาวเป็นคนที่คิดทำนองเพลงนี้ขึ้นมา แล้วก็ใช้กับเพลงของโรงเรียน ในตอนแรกท่วงทำนองนี้รู้กันว่าเป็นทำนองของเพลง “Good Morning to All” และกลายมาเป็น “Happy Birthday” ก็ตอนปี 1935 ซึ่งทำให้การคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์มีผลต่อเนื่องมาถึงปี 2030

ในปี 2013 คนทำหนังคนหนึ่งที่ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเพลง พบกว่ามีเพลงหนึ่งจากปี 1922 มีเนื้อร้องที่คุ้นกันดีว่า “Happy Birthday To You” และนำเสนอต่อศาลเพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า เพลงนี้น่าจะตกเป็นสมบัติสาธารณะแล้วในเวลานั้น แต่เพราะผลงานที่ทำกันมาก่อนปี 1923 ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มได้ คดีดังกล่าวเลยตกไป และในอีก 2 ปีต่อมาผู้พิพากษาก็ตกลงยกให้เพลง “Happy Birthday” กลายเป็นเพลงเพื่อทุกคน

ให้กำลังใจและสนับสนุนเราได้ที่บัญชีธนาคารกสิกรไทย หมายเลข 100-2-10283-4 แล้วแจ้งมาที่กล่องข้อความของเพจ sadaos หรือที่อีเมล shopsadaos@gmail.com เพื่อรับของขวัญแทนน้ำใจ

ติดตามอ่านเรื่องราว ข่าวสาร ชมตัวอย่าง ชมคลิป ชม MV อ่านวิจารณ์หนังและเพลง ได้ด้วยการกดไลค์เพจสะเด่าส์ ได้ที่นี่

What is your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0
Sadaos
พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

You may also like

More in:FEATURES

Comments are closed.